Saturday, April 27, 2024
<
HomeAnoneClubประกวดสุนทรพจน์รางวัลชนะเลิศ ระดับมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป การประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 44/2560

รางวัลชนะเลิศ ระดับมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป การประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 44/2560

รางวัลชนะเลิศ ระดับมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป
การประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่น ครั้งที่ 44/2560
รายงานโดย… นายกังวาน
สัมภาษณ์คนเก่ง น้องโบว์ สืบสุนทร
สวัสดีครับ เพื่อสมาชิก Anone club และผู้สนใจภาษาญี่ปุ่นทุกท่าน วันนี้เรากลับมาพบกับท่านตามคำเรียกร้องอีกเช่นเคย หลังจากที่เราได้พบกับน้องคนเก่งระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งสองคนผ่านไปแล้ว ครั้งนี้เราจะพาทุกท่านมาพบคนเก่งของเราอีกคนหนึ่ง เป็นคนเก่งระดับมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไป น้องคนเก่งของเราเป็นสาวเมืองน้ำดำ ซึ่งเป็นเมืองอยู่ใกล้ลำน้ำก่ำ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ก็คือจังหวัดมหาสารคามครับ บทสุนทรพจน์ที่น้องนำเข้าประกวด เป็นบทสุนทรพจน์ที่ดี เป็นความต้องการประกอบอาชีพที่หลายคนบอกว่าหนักและรายได้น้อย ถ้าต้องการรู้ว่าน้องคนเก่งของเราต้องการประกอบอาชีพใด ลองมาติดตามและทำความรู้จักน้องให้มากขึ้นกันดีกว่านะครับ ถ้าทุกท่านพร้อมแล้ว ตามนายกังวานไปพูดคุยและทำความรู้จักกับน้องคนเก่งคนนี้กันครับ
นายกังวาน : Hajimemashite ! สวัสดีครับ แนะนำตัวให้เพื่อนรู้จักด้วยครับ
น้องพลอย : สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวโบว์ สืบสุนทร ชื่อเล่นพลอย อายุ 21 ปี เรียนอยู่ปี 3 สาขาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นคนจังหวัดมหาสารคามค่ะ

นายกังวาน : น้องพลอยมีความสนใจภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่เมื่อไหร่ครับ

น้องพลอย : พลอยเรียนภาษาญี่ปุ่นมา 2 ปีกว่าๆ แล้วค่ะ ก่อนหน้านั้นไม่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาก่อนเลย
นายกังวาน : ไม่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาก่อน พึ่งเรียนได้ 2 ปีหรือ ขอโทษครับแล้วอะไรเป็นแรงบันดาลใจให้สนใจภาษาญี่ปุ่นครับ
น้องพลอย: แรงบันดาลใจในการเรียนภาษาญี่ปุ่น คือตอนที่สมัครเข้ามหาวิทยาลัย ตอน ม. ปลายยัง ไม่รู้ตัวเองเลยค่ะว่าชอบอะไรอยากเรียนอะไร ตอนนั้นคิดแค่ว่าอยากเรียนอะไรที่จบไปแล้วทำงานมีเงินเดือนเยอะๆ ได้ยินมาว่าล่ามภาษาญี่ปุ่นเงินเดือนดี ก็เลยตัดสินใจเรียนภาษาญี่ปุ่นค่ะ ไม่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นมาก่อนเลยค่ะ
นายกังวาน : มีวิธีการการเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างไรบ้างครับ
น้องพลอย : อืม ตอนเรียนใหม่ๆ ยากมาก ท้อมาก อยากจะซิ่วไปเรียนอย่างอื่น แต่ก็ทนเรียนจนถึงวันนี้ได้ หลายคนอาจสงสัยว่าไหนบอกว่าอยากเป็นเกษตรกรแล้วทำไมมาเรียนภาษาญี่ปุ่น คือจริงๆ แล้ว ตอนที่จบ ม.6 ไม่อยากเรียนต่อด้วยซ้ำแต่ที่บ้านไม่ยอม พ่อแม่กลัวว่าจะลำบากก็เลยอยากให้เรียนจบสูงๆ มีงานดีๆ ทำ พ่อแม่อยากให้เป็นครูค่ะ แต่มันไม่ใช่แนวของหนูก็เลยเลือกภาษาญี่ปุ่นค่ะ พ่อแม่ไม่ห้ามหรอกค่ะที่หนูอยากเป็นเกษตรกร แต่เค้าจะบอกเสมอว่าให้เรียนจบก่อนอยากเป็นอะไรอยากทำอะไรก็ค่อยทำ การเกษตรเป็นอะไรที่ไม่ค่อยจะแน่นอน บางปีเศรษฐกิจก็ไม่ดี บางทีสิ่งแวดล้อมก็ไม่เป็นใจ น้ำท่วมบ้างภัยแล้งบ้าง ก็เลยเรียนภาษาญี่ปุ่นไว้เพื่อเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง เผื่อวันใดวันหนึ่งไม่ได้ทำการเกษตรแล้วค่ะ
นายกังวาน : เป็นความคิดที่เยี่ยมเลยครับ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการคิดที่รอบคอบ มีแผนสำรอง แล้วมีอะไรหรือชอบอะไรเกี่ยวกับญี่ปุ่นไหมครับ
>น้องพลอย : พลอยเรียนภาษาญี่ปุ่นไม่ใช่เพราะชอบอะนิเมะ หรือชอบดารานักร้องนะคะ พลอยชอบการใช้ชีวิตของคนญี่ปุ่น คือเขามีระเบียบวินัยมากค่ะ อย่างเช่นคนญี่ปุ่นไม่ว่าจะซื้อของหรือรอขึ้นรถต้องต่อแถวทุกครั้งค่ะ คือมีระเบียบมาก และก็ชอบวัฒนธรรมของเขา งานเทศกาลต่างๆ และสถานที่ท่องเที่ยวที่ญี่ปุ่นค่ะ ก็เลยเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่น นี่คือแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนภาษาญี่ปุ่นค่ะ
นายกังวาน :   เห็นด้วยเลยนะครับ เรื่องที่น้องกล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมีระเบียบวินัย วัฒนธรรม การใช้ชีวิต การรักษากฎระเบียบ คนญี่ปุ่นเขาได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กครับ และการคิดถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ทำให้คนและประเทศญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีระเบียบ รวมถึงการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยนะครับ ว่าแต่น้องพลอยมีคำแนะนำอะไรในการเรียนภาษาญี่ปุ่น
>น้องพลอย : ในการเรียนภาษาญี่ปุ่นให้สำเร็จขึ้นอยู่กับตัวเราเองล้วนๆ เลยค่ะ คือเราต้องมีความขยันและมีความอดทนให้มากๆ เรียนภาษาสิ่งที่ต้องทำทุกวันคือการท่องคำศัพท์ ต่อมาคือไวยากรณ์ค่ะ ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นเยอะมากและก็ยากมากค่ะต้องทบทวนทุกวันเพื่อที่จะได้ไม่ลืมค่ะ อีกเรื่องหนึ่งคือการฟัง จะฟังเพลงดูหนังหรือฟังอะไรก็ได้ค่ะ ถ้าเราฟังบ่อยๆ เราก็จะคุ้นเคยและเราก็จะรู้คำศัพท์มากขึ้นด้วยค่ะ ถ้าเรียนภาษาญี่ปุ่นได้ใช้ภาษาแน่นอนค่ะ ตอนนี้ก็ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นแทบทุกวันเลยค่ะ ไม่ว่าจะใช้ในคาบเรียน หรือคุยกับอาจารย์คุยกับเพื่อนคนญี่ปุ่นและประเทศอื่นที่เขาเรียนญี่ปุ่นค่ะ
นายกังวาน :   เป็นคำแนะนำที่ดีมากครับ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น น้องพลอยต้องการจะฝากอะไรให้เพื่อนไหมครับ
น้องพลอย:   จากที่ได้รับรางวัลตั๋วไป-กลับ ไทย-ญี่ปุ่นช่วงปลายเดือนตุลาคม หลังจากไปญี่ปุ่นมาแล้วมีสิ่งที่ได้รับและความประทับใจเกิดขึ้นมากมาย คนญี่ปุ่นมีระเบียบวินัยมาก และคนญี่ปุ่นก็ใจดีมากด้วย ได้เพื่อนต่างชาติมากมาย ได้ไปเที่ยวด้วยกันหลายที่สนุกมากค่ะ สำหรับใครที่อยากไปเที่ยวญี่ปุ่นโดยไม่ต้องใช้ทุนตัวเองก็ลองมาสมัครประกวดสุนทรพจน์ได้นะคะ มันคุ้มค่ามาก อนาคตถ้าได้ทำงานด้านภาษาญี่ปุ่นก็อยากจะเป็นนักแปลหนังสือค่ะ ถ้าเป็นล่ามคงไม่ไหวเพราะตัวเองก็พูดไม่เก่งด้วย
นายกังวาน :   เกี่ยวกับการประกวดครั้งนี้ น้องพลอยทราบข่าวจากไหน ใครแนะนำให้เข้าประกวด และมีการเตรียมตัวเข้าประกวดอย่างไรครับ
น้องพลอย:   ในการประกวดครั้งนี้ ทราบขาวจากเว็บเพจของสมาคมฯ ค่ะ อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยและครอบครัวก็สนับสนุนอยากให้ลองสมัครดูค่ะ สำหรับใครที่อยากเรียนภาษาญี่ปุ่นก็พยายามให้มากๆ นะคะ ไม่มีอะไรยากเกินความสามารของเราหรอกค่ะ ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่นค่ะ ใครที่อยากรู้ว่าเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นยังไง หรืออยากรู้เกี่ยวกับการประกวดสุนทรพจน์ก็สามารถพูดคุยกับพลอยได้นะคะ ถึงจะไม่เก่งแต่จะช่วยเต็มที่ค่ะ lG : I.Am.Ploy ID : ploy_3110 แอดมาคุยกันได้นะคะ
นายกังวาน :   ขอบคุณมากครับที่สละเวลาอันมีค่ามาร่วมพูดคุยกัน เรามาติดตามทุ่งนาสีทองและอาชีพในฝันที่น้องพลอยกล่าวถึงกันนะครับ ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้แน่นอน ตราบใดที่เรามีความพยายาม แล้วพบกับคนเก่งคนต่อไปกันครับ มาดูว่าจะมาจากภูมิภาคไหนของไทย มีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างไร ขอบคุณและสวัสดีครับ
น้องพลอย:   ขอบคุณค่ะ สวัสดีค่ะ
…………………………………………………………………………………………………………………
金色(きんいろ)の田(た)んぼと夢(ゆめ)の職業(しょくぎょう)
ボー・スープスントーン
みなさんは「イーサーン地方(ちほう)」ということばを知(し)っていますか。イーサーン地方(ちほう)とはタイ東北部(とうほくぶ)のことです。田(た)んぼや畑(はたけ)がたくさんあります。イーサーンの人(ひと)の多(おお)くは農業(のうぎょう)をしています。そして、牛(うし)や水牛(すいぎゅう)やニワトリを飼(か)っています。私(わたし)はイーサーン地方(ちほう)で育(そだ)ちました。
私(わたし)の家族(かぞく)は祖母(そぼ)と父(ちち)と母(はは)と妹(いもうと)です。昔(むかし)から稲作(いなさく)をしています。私(わたし)はこどものころ、学校(がっこう)から帰(かえ)ってきて、田植(たう)えを手伝(てつだ)いました。裸足(はだし)で苗(なえ)を田(た)んぼに植(う)えました。10月(じゅうがつ)になると苗(なえ)は緑色(みどりいろ)になって、そして、金色(きんいろ)になります。とてもきれいです。稲(いね)が金色(きんいろ)になると、稲刈(いねか)りが始(はじ)まります。昔(むかし)は機械(きかい)がなかったので、鎌(かま)で稲(いね)を刈(か)りました。ずっとかがんでいるので、腰(こし)が痛(いた)くなりました。
今(いま)は苗(なえ)は植(う)えません。種(たね)をまくだけです。稲刈(いねか)りは機械(きかい)を使(つか)います。でも、昔(むかし)より肥料(ひりょう)が高(たか)くなって、米(こめ)の値段(ねだん)が安(やす)くなりました。だから、農家(のうか)の収入(しゅうにゅう)がへりました。農業(のうぎょう)をやめて、バンコクへ行(い)って働(はたら)く人(ひと)もいます。でも、生活(せいかつ)が苦(くる)しくても、私(わたし)の家族(かぞく)は稲作(いなさく)を続(つづ)けています。「田(た)んぼがあれば、お金(かね)がなくても生(い)きていける」と父(ちち)は言(い)います。
私(わたし)の家(いえ)はナスやトマトやキュウリなどの野菜(やさい)を作(つく)っています。バナナやマンゴーなどの果物(くだもの)の木(き)もあります。野菜(やさい)や果物(くだもの)を植(う)えると、買(か)わなくてもいいからです。そして、牛(うし)も飼(か)っています。牛(うし)は私(わたし)の家(いえ)の「貯金(ちょきん)」です。お金(かね)がいる時(とき)、売(う)ることができます。父(ちち)は毎朝(まいあさ)、早(はや)く起(お)きて、草(くさ)を取(と)りに行(い)きます。その草(くさ)が牛(うし)のえさになります。これがイーサーンの人(ひと)の自給自足(じきゅうじそく)の生活(せいかつ)です。
小学生(しょうがくせい)の時(とき)から高校生(こうこうせい)の時(とき)まで、私(わたし)は家(いえ)の近(ちか)くの小(ちい)さい学校(がっこう)へ通(かよ)いました。塾(じゅく)へ行(い)ったことがありません。「こどもを大学(だいがく)へ行(い)かせるお金(かね)があるの」とある人(ひと)が両親(りょうしん)に聞(き)いたことがあります。この言葉(ことば)はひどい言葉(ことば)です。でも、私(わたし)の両親(りょうしん)はなんとか私(わたし)や妹(いもうと)を育(そだ)てることができます。収入(しゅうにゅう)は少(すく)なくても、みんな幸(しあわ)せです。
今(いま)、私(わたし)は大学(だいがく)で日本語(にほんご)を勉強(べんきょう)しています。私(わたし)は日本語(にほんご)が好(す)きだし、私(わたし)の両親(りょうしん)は、私(わたし)に教師(きょうし)になってほしいと思(おも)っているからです。「教育(きょういく)があれば、生活(せいかつ)に困(こま)らない」と父(ちち)と母(はは)は言(い)います。多(おお)くのイーサーンの人(ひと)は、公務員(こうむいん)や教師(きょうし)や警察官(けいさつかん)などの仕事(しごと)がいい仕事(しごと)だと思(おも)っています。
でも、私(わたし)にはやりたいことがあります。それは稲作(いなさく)です。稲(いね)は一年(いちねん)に一度(いちど)しかとれません。自分(じぶん)で育(そだ)てた。大切(たいせつ)な稲(いね)が大(おお)きくなって、お米(こめ)になって、人(ひと)の食生活(しょくせいかつ)をささえています。だから、私(わたし)は稲作(いなさく)は素晴(すば)らしい仕事(しごと)だと思(おも)います。
農民(のうみん)は身分(みぶん)が低(ひく)い、と言(い)う人(ひと)もいます。でも、私(わたし)は農業(のうぎょう)に誇(ほこ)りを持(も)っています。金色(きんいろ)の田(た)んぼの中(なか)で働(はたら)きたいです。農業(のうぎょう)は私(わたし)の夢(夢)の職業(しょくぎょう)です。
ทุ่งนาสีทองและอาชีพในฝัน
โบว์ สืบสุนทร
ทุกคนรู้จักคำว่าภาคอีสานไหมคะ ภาคอีสานคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย มีไร่นาเป็นจำนวนมาก ชาวอีสานส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร เลี้ยงวัวเลี้ยงควายและเลี้ยงไก่ ฉันก็เติบโตมาในภาคอีสาน
ฉันมีย่า พ่อ แม่ น้องสาว ครอบครัวของฉันทำนามาตั้งแต่สมัยโบราณ ตอนที่ฉันเป็นเด็กหลังจากที่กลับจากโรงเรียนก็จะช่วยทำนา ปักดำต้นกล้าในนาข้าวด้วยเท้าเปล่า เมื่อถึงเดือนตุลาคมต้นกล้าจะกลายเป็นสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีทอง สวยมากๆ เมื่อข้าวเปลี่ยนเป็นสีทอง ฤดูของการเก็บเกี่ยวก็เริ่มขึ้น เพราะสมัยก่อนไม่มีเครื่องจักร จึงเกี่ยวข้าวด้วยเคียว การก้มเป็นเวลานานทำให้ปวดเอว
ปัจจุบันไม่มีการปักดำต้นกล้า จะใช้วิธีหว่านเอาเท่านั้น มีการใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวข้าว แต่ปัจจุบันปุ๋ยแพงขึ้นกว่าเมื่อก่อน ราคาข้าวก็ถูก ดังนั้นรายได้เกษตรกรจึงลดลง มีคนหยุดทำการเกษตรและหันไปทำงานที่กรุงเทพฯ แต่ถึงแม้ว่าการใช้ชีวิตจะลำบากแค่ไหน ครอบครัวของฉันก็ยังทำนาต่อไป พ่อบอกว่า “ถ้ามีที่ทำกิน ก็สามารถอยู่ได้แม้ไม่มีเงิน”
ครอบครัวของฉันปลูกผัก เช่น มะเขือเทศยาว มะเขือเทศ และแตงกวา นอกจากนี้ยังมีผลไม้อีกด้วยเช่นกล้วย มะม่วง เพราะปลูกผักและผลไม้ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อ และเลี้ยงวัวด้วย วัวเปรียบเสมือนเงินฝากของบ้านฉัน เมื่อไหร่ที่ต้องการเงินก็สามารถขายได้ พ่อจะรีบตื่นทุกเช้าเพื่อไปเกี่ยวหญ้า และหญ้านั้นก็จะเป็นอาหารของวัว นี่เป็นการใช้ชีวิตแบบพอเพียงของชาวอีสาน
ตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมปลายฉันเดินทางไปกลับที่โรงเรียนเล็กๆ ใกล้บ้าน ไม่เคยได้เรียนพิเศษเลย พ่อกับแม่มักจะได้ยินคนพูดว่า “จะมีเงินส่งลูกให้ไปเรียนมหาวิทยาลัยหรือ?” คำพูดนี้เป็นคำพูดที่เลวร้ายมาก แต่พ่อแม่ของฉันก็สามารถเลี้ยงดูฉันกับน้องสาวได้ แม้ว่ารายได้จะน้อยแต่ทุกคนในครอบครัวก็มีความสุข
ตอนนี้ฉันกำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ที่มหาวิทยาลัย ฉันชอบภาษาญี่ปุ่นแต่พ่อแม่ของฉันอยากให้ฉันเป็นครู พ่อกับแม่มักจะพูดว่า “ถ้ามีการศึกษา ชีวิตก็จะไม่ลำบาก” ชาวอีสานส่วนใหญ่คิดว่างานที่ดีจะต้องเป็นหมอ ครูหรือตำรวจ
แต่มีสิ่งที่ฉันอยากจะทำนั่นก็คือการทำนา การทำนา 1 ปีจะทำเพียง 1 ครั้ง ต้นข้าวที่มีคุณค่าที่ปลูกขึ้นด้วยตัวเองเจริญเติบโตขึ้นได้กลายเป็นข้าวสารช่วยเลี้ยงดูคนอื่นให้ดำรงชีวิตอยู่ได้
มีคนบอกว่าอาชีพเกษตรกรเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย ไม่หรูหรา แต่ฉันก็ภูมิใจในอาชีพเกษตรกร อยากทำงานที่อยู่ในทุ่งนาที่มีสีทอง เพราะเกษตรกรเป็นอาชีพในฝันของฉัน
——————————————–
RELATED ARTICLES

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments