Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the td-cloud-library domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/ojsat.or.th/httpdocs/main/wp-includes/functions.php on line 6121
ความเกี่ยวข้องกันระหว่าง “รูปสามารถ / รูปขออนุญาต / รูปขอร้อง” ในภาษาญี่ปุ่น | สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ในพระบรมราชูปถัมภ์
Friday, April 25, 2025
<
HomeAnoneClubความเกี่ยวข้องกันระหว่าง “รูปสามารถ / รูปขออนุญาต / รูปขอร้อง” ในภาษาญี่ปุ่น

ความเกี่ยวข้องกันระหว่าง “รูปสามารถ / รูปขออนุญาต / รูปขอร้อง” ในภาษาญี่ปุ่น

สวัสดีครับ พบกันเช่นเคยกับวิธีมองภาษาญี่ปุ่นจากมุมมองของภาษาไทยครับ วันนี้เราจะมาพูดถึง “รูปสามารถ” กัน แม้ว่ารูปสามารถในภาษาไทยนั้นจะมีหลายคำ เช่น “ว่ายน้ำเป็น” “พูดภาษาญี่ปุ่นได้” “ยังเดินไหว”  แต่ทุกท่านเคยสังเกตไหมครับว่า ในภาษาไทยนั้นสามารถใช้กริยารูปสามารถคำว่า “ได้” ได้ในหลาย ๆ กรณี (ภาษาอังกฤษก็มีลักษณะเช่นเดียวกันครับ) ไม่จำเป็นต้องใช้แสดงความสามารถเสมอไปครับ ไม่ว่าจะเป็นกรณีของการ แสดงความสามารถ แสดงการขออนุญาต หรือ แสดงการขอร้อง ก็ใช้ได้ครับ ซึ่งต่างจากภาษาญี่ปุ่น และทำให้ชาวไทยผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในเบื้องต้นเกิดความสับสนในเรื่องวิธีใช้ครับ โดยวีคุงจะแยกเป็นกรณีให้ดูดังนี้

  1. กรณี “แสดงความสามารถ”

            กรณีนี้ก็คือภาษาญี่ปุ่นใช้คำกริยารูปสามารถแบบปกติครับ ถ้าใครผันรูปสามารถแม่น ๆ ก็สามารถใช้ได้แล้ว ไม่ได้ยากเย็นอะไรครับ
เช่น  1) 私は日本語が話せます。
(watashi wa nihongo ga hanasemasu.
ฉันพูดภาษาญี่ปุ่นได้

       2) 彼はお寿司が食べられます。
(kare wa o-sushi ga taberaremasu.
เขากินซูชิได้

            (หมายเหตุ: อาจต้องมีการเปลี่ยนคำช่วยแสดงกรรมจาก を (o) เป็น が (ga) ที่จริงแล้วจะไม่เปลี่ยนก็ไม่ผิด เพียงแต่ถ้าเอาให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ที่แท้จริงแล้วก็ควรจะเปลี่ยน)

  1. กรณี“ขออนุญาต”

            กรณีนี้ภาษาญี่ปุ่นมีหลายวิธีพูดครับคือ
           「~てもいいですか (~temo ii desuka)」
           「~てもかまいませんか (~temo kamaimasenka)」
           「~ても大丈夫ですか (~temo daijōbu desuka)」เป็นต้น (มีอีกหลายวิธี) ซึ่งในภาษาไทย เราก็ใช้คำว่า “ได้” เช่นกันครับ ในการแสดงการขออนุญาตแบบนี้

เช่น

1) 先に帰ってもいいですか。
(saki ni kaettemo ii desuka.)
ขอกลับก่อนได้ไหม

2) 煙草を吸ってもかまいませんか。
(tabako wo sutte mo kamaimasenka.)
สูบบุหรี่ได้ไหม

 3) 明日宿題を出さなくても大丈夫ですか。
(ashita shukudai o dasanakutemo daijōbu desuka.)
พรุ่งนี้ไม่ส่งการบ้านได้ไหม

            จะสังเกตเห็นได้ว่า กรณีขออนุญาต ไม่ว่าภาษาญี่ปุ่นจะพูดได้หลายแบบเพียงใดก็ตาม ในภาษาไทยก็มักจะใช้แค่ “ได้”เหมือนกับรูปสามารถเปี๊ยบเลยครับ แค่แปะคำถาม “ไหม” หรือ “หรือเปล่า” เข้าไปที่คำว่า “ได้” ก็เท่านั้นเอง

  1. กรณี“ขอร้อง”

            กรณีนี้ยิ่งมีหลายวิธีพูดมากกว่ากรณีขออนุญาตอีกครับ เนื่องจากมีระดับของภาษาหลากหลายมากในการขอร้องในภาษาญี่ปุ่นครับ เช่น「~てくれませんか (~te kuremasenka)」
                                 「~てください (~te kudasai)」
                                 「~てくださいますか (~te kudasaimasuka)」
                                 「~てもらえますか (~te moraemasuka)」
                                 「~ていただけますか (~te itadakemasuka)」 และอีกหลายวิธีครับ

เช่น

1) 写真を撮ってくれませんか。
(shashin o totte kuremasenka.)
ถ่ายรูปให้หน่อยได้ไหม

2) ご住所を教えてもらえますか。
(go jūsho o oshiete moraemasuka.)
บอกที่อยู่ของคุณหน่อยได้ไหม

3) 私の話を聞いていただけますか。
(watashi no hanashi wo kiite itadakemasuka.)
ช่วยฟังเรื่องของฉันหน่อยได้ไหม

            กรณีขอร้องก็เช่นกัน ไม่ว่าภาษาญี่ปุ่นจะพูดได้กี่แบบก็ตาม ภาษาไทยก็ใช้แค่ “ได้” แล้วเติมคำถาม “ไหม” หรือ “หรือเปล่า”เข้าไปที่คำว่า “ได้” ก็เป็นอันจบแล้วครับ

            เพราะฉะนั้นคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นใหม่ ๆ ต้องแยกแยะให้ออกว่าสิ่งที่ตัวเองนั้นกำลังพูด เป็นกรณีไหน จะได้เลือกใช้ให้ถูกครับ

            แล้วพบกันใหม่ครับผม

RELATED ARTICLES

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

- Advertisment -

Most Popular

Recent Comments